Home News update โตโยต้า แถลงยอดขาย ตลาดรถยนต์ครึ่งแรกของปี 64 พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมอยู่ที่ 800,000 คัน

โตโยต้า แถลงยอดขาย ตลาดรถยนต์ครึ่งแรกของปี 64 พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมอยู่ที่ 800,000 คัน

by wa wa ztv
592 views

มร.โนริอากิ ยามาชิตะ “กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2564 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2564 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564

มร.ยามาชิตะ กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดในระลอกล่าสุดที่มีความรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม และส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุ่งหวังว่าสถานการณ์ต่างๆจะฟื้นตัวดีขึ้น จากความพยายามของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา ควบคู่ไปกับแผนการฉีดวัคซีนสำหรับคนไทย ซึ่งจะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม”

มร.ยามาชิตะ กล่าวต่อไปว่า “แม้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจะยังคงได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 แต่บรรดาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย ก็ได้มีความพยายามในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆในเชิงรุก เห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์จากงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 ที่ผ่านมา ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้มีส่วนช่วยคลายความวิตกกังวลของผู้บริโภคและกระตุ้นให้เกิดใช้จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขยอดขายตลาดรวมในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 373,191 คัน เพิ่มขึ้น 13.6% จากยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว”

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศ  ม.ค. – มิ.ย. 2564ยอดขายปี 2564เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2563
ปริมาณการขายรวม373,191 คัน    +13.6 %
รถยนต์นั่ง120,351 คัน    + 0.5 %
รถเพื่อการพาณิชย์252,840 คัน    + 21.0 %
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)196,934 คัน    + 18.3 %
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)168,993 คัน   + 13.1%

            “สำหรับผลการดำเนินงานของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มียอดขายโดยรวมเพิ่มขึ้น 24.4% หรือ คิดเป็นจำนวน 117,185 คัน ซึ่งถือได้ว่าดีกว่าอัตราการฟื้นตัวของตลาด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทฯ จะเผชิญกับความยากลำบากมากมายในปีที่ผ่านมา แต่ยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 31.4% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลข 28.7% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว สืบเนื่องจากกลยุทธ์การขายแบบใหม่ของเรา  ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการเสริมความเข้มแข็งในส่วนกลยุทธ์การขายบนช่องทางออนไลน์และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ตลอดจนความพยายามในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆของเราในช่วงแรกของปีนี้

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า  ม.ค. – มิ.ย. 2564ยอดขายปี 2564เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2563ส่วนแบ่งตลาด
ปริมาณการขายรวม117,185 คัน   + 24.4 %31.4 %
รถยนต์นั่ง29,703 คัน   – 0.7 %24.7 %
รถเพื่อการพาณิชย์87,482 คัน   + 36.1 %34.6 %
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)74,141 คัน   + 31.8 %37.6 %
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)61,833 คัน   + 24.6 %36.6 %

สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2564 มร.ยามาชิตะคาดการณ์ว่า “มีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางของตลาดรถยนต์ในปีนี้ อาทิ สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด การเข้าถึงวัคซีนของประชาชน รวมถึงแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ตลอดจนการสนับสนุน จากองค์กรเอกชนทุกภาคส่วนที่ผนึกกำลังในการร่วมคลี่คลายสถานการณ์ เรามีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้ จะสามารถฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ 800,000 คัน เพิ่มขึ้น  1 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564ยอดขาย ประมาณการปี 2564เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2563
ปริมาณการขายรวม800,000 คัน    +  1 %
รถยนต์นั่ง271,000 คัน    – 1.4 %
รถเพื่อการพาณิชย์529,000 คัน    + 2.3 %

มร.ยามาชิตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโตโยต้า เรามีเป้าหมายการขายในปี 2564 อยู่ที่ 260,000 คัน หรือคิดเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้น 6.4 % จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ 32.5% แม้ว่าเราจะเผชิญปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19  แต่เรายังคงเชื่อมั่นว่า จากความพยายามของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดขายบนช่องทางออนไลน์ แพ็คเกจการให้บริการที่ทำให้ลูกค้าสามารถ “เป็นเจ้าของรถยนต์ได้ง่ายขึ้น”   และมาตรการเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าในเรื่องการดูแลสุขอนามัย ทั้งในโชว์รูมและศูนย์บริการ รวมทั้งการให้บริการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในรถยนต์ ตลอดจนความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศ จะมีส่วนช่วยให้เราได้รับความเชื่อมั่นและการสนับสนุนจากลูกค้าเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายของเราได้เป็นผลสำเร็จ”

ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2564ยอดขาย ประมาณการปี 2564เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2563ส่วนแบ่งตลาด
ปริมาณการขายรวม260,000 คัน     + 6.4 %32.5 %
รถยนต์นั่ง  67,000 คัน     -1.7% %24.7 %
รถเพื่อการพาณิชย์193,000 คัน     + 9.6 %36.5 %
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)166,800 คัน     + 11.5 %40.2 %
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)142,000 คัน     + 9.3 %39.6 %

สำหรับปริมาณการส่งออกของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 บริษัทฯได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 141,909 คัน เพิ่มขึ้น 46% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา  โดยมียอดการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 258,365 คัน เพิ่มขึ้น 50% จากปีที่แล้ว

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของโตโยต้า ม.ค. – มิ.ย. ปี 2564ปริมาณปี 2564เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2563
ปริมาณการส่งออก141,909 คัน    + 46%
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ258,365 คัน+ 50%

ทั้งนี้สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 322,000 คัน เพิ่มขึ้น 50 % จากปีที่แล้ว จากสัญญาณการฟื้นตัวในตลาดต่างประเทศ ด้วยปัจจัยต่างๆ อาทิ เช่น อัตราการลดลงของผู้ป่วยโควิด-19 ความคืบหน้าของแผนการฉีดวัคซีน และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศต่างๆ

ส่วนในด้านการผลิตนั้น มองว่ามีแนวโน้มดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า จากความต้องการของลูกค้าในตลาดต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น ดังนั้นปริมาณการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 580,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 31 % จากปีที่แล้ว ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการขายของทั้งในประเทศและส่งออก

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของโตโยต้าปี 2564ปริมาณปี 2564เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2563
ปริมาณการส่งออก322,000 คัน     + 50 %
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ580,000 คัน+ 31 %

มร.ยามาชิตะ ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า ” ภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย  โตโยต้ายังคงเดินหน้าสนับสนุนและเคียงข้างสังคมไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน ผ่านโครงการ ‘Toyota Stay with You’ ซึ่งเราได้ส่งมอบรถยนต์โตโยต้าให้กับกระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ระหว่างการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  นอกจากนี้ จากการที่บริษัทฯได้ร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศ เราได้ให้บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในรถยนต์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ให้แก่ลูกค้ารถยนต์ทุกยี่ห้อไปแล้วกว่า1,300,000 คัน จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ เรายังมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การบริการ และกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความใส่ใจสูงสุดในด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด อีกทั้งเราได้มีการว่าจ้างพนักงานในส่วนของสายงานการผลิตเพิ่มมากกว่า 400 อัตรา เพื่อกระตุ้นการจ้างงานในตลาดแรงงานไทยในปัจจุบัน รวมทั้งยังมีแผนที่จะจ้างงานเพิ่มในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของเราที่จะมีส่วนช่วยบรรเทาสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และเรายังคาดหวังว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไทยและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในอนาคต”

มร.ยามาชิตะ กล่าวปิดท้ายว่า “เราขอแสดงความขอบคุณต่อภาครัฐ และลูกค้าทุกท่านตลอดจนผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน สำหรับการสนับสนุนที่ท่านได้กรุณามอบให้กับพวกเรามาโดยตลอด แม้ในช่วงเวลาอันยากลำบากเช่นนี้ก็ตาม เรายังคงยืนหยัดเดินหน้าตามแนวทางสากลของโตโยต้าในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของการผลิตและส่งออกรถยนต์ในระดับภูมิภาค ตลอดจนเดินหน้าสร้างความเจริญเติบโตให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อคนไทย”

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2564

ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,974 คัน เพิ่มขึ้น 11.9%

  • อันดับที่ 1 โตโยต้า      22,337 คัน      เพิ่มขึ้น      67.1%       ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ          14,098 คัน      ลดลง       15.4%        ส่วนแบ่งตลาด 21.7%
  • อันดับที่ 3 ฮอนด้า       7,339 คัน       เพิ่มขึ้น      26.1%        ส่วนแบ่งตลาด 11.3%

ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,538 คัน เพิ่มขึ้น 3%

  • อันดับที่ 1 ฮอนด้า        6,422 คัน      เพิ่มขึ้น   33.3%          ส่วนแบ่งตลาด 28.5%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า        5,414 คัน      ลดลง     12.7%          ส่วนแบ่งตลาด 24.0%
  • อันดับที่ 3 มาสด้า        1,821 คัน      เพิ่มขึ้น   30.1%          ส่วนแบ่งตลาด  8.1%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 42,436 คัน เพิ่มขึ้น 13.8%

  • อันดับที่ 1 โตโยต้า      16,923 คัน      เพิ่มขึ้น      97.6%        ส่วนแบ่งตลาด 39.9%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ           14,098 คัน      ลดลง       15.4%        ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,721 คัน       เพิ่มขึ้น     57.6%        ส่วนแบ่งตลาด  6.4%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 33,169 คัน เพิ่มขึ้น 12.1%                 

  • อันดับที่ 1 โตโยต้า      14,472 คัน      เพิ่มขึ้น   96.2%          ส่วนแบ่งตลาด 43.6%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ          12,564 คัน      ลดลง     18.2%          ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,721 คัน       เพิ่มขึ้น     57.6%        ส่วนแบ่งตลาด  8.2%
ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,811 คัน โตโยต้า 1,768 คัน,  อีซูซุ 1,142 คัน,  มิตซูบิชิ 453 คัน,  ฟอร์ด 391 คัน,  นิสสัน 57 คัน

 ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,358 คัน เพิ่มขึ้น 10.4%

  • อันดับที่ 1 โตโยต้า      12,704 คัน     เพิ่มขึ้น    107.8%       ส่วนแบ่งตลาด 43.3%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ           11,422 คัน     ลดลง       23.2%        ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด           2,330 คัน     เพิ่มขึ้น     64.8%        ส่วนแบ่งตลาด  7.9%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2564

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 373,191 คัน เพิ่มขึ้น 13.6%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า      117,185 คัน     เพิ่มขึ้น      24.4%       ส่วนแบ่งตลาด 31.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ          93,165 คัน     เพิ่มขึ้น      22.5%        ส่วนแบ่งตลาด 25.0%

 อันดับที่ 3 ฮอนด้า      42,715 คัน     เพิ่มขึ้น       3.4%        ส่วนแบ่งตลาด 11.4%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 120,351 คัน เพิ่มขึ้น 0.5%                                

อันดับที่ 1 ฮอนด้า        36,586 คัน      เพิ่มขึ้น      6.0%         ส่วนแบ่งตลาด 30.4%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      29,703 คัน     ลดลง       0.7%          ส่วนแบ่งตลาด24.7%

อันดับที่ 3 นิสสัน        11,294 คัน     ลดลง      10.7%         ส่วนแบ่งตลาด  9.4%

3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 252,840 คัน เพิ่มขึ้น 21.0%                    

อันดับที่ 1 อีซูซุ          93,165 คัน     เพิ่มขึ้น      22.5%       ส่วนแบ่งตลาด 36.8%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      87,482 คัน     เพิ่มขึ้น     36.1%        ส่วนแบ่งตลาด 34.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        16,296 คัน     เพิ่มขึ้น     41.5%        ส่วนแบ่งตลาด  6.4%

4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 196,934 คัน เพิ่มขึ้น 18.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ           85,021 คัน      เพิ่มขึ้น      20.5%       ส่วนแบ่งตลาด 43.2%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      74,141 คัน      เพิ่มขึ้น     31.8%        ส่วนแบ่งตลาด 37.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        16,296 คัน      เพิ่มขึ้น     41.5%        ส่วนแบ่งตลาด  8.3%

 ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 27,941 คัน  โตโยต้า 12,308 คัน,  อีซูซุ 9,392 คัน,  มิตซูบิชิ 3,532 คัน,  ฟอร์ด 2,536 คัน,   นิสสัน 173 คัน

5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 168,993 คัน เพิ่มขึ้น 13.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ            75,629 คัน     เพิ่มขึ้น      11.8%       ส่วนแบ่งตลาด 44.8%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      61,833 คัน     เพิ่มขึ้น      24.6%        ส่วนแบ่งตลาด 36.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        13,760 คัน     เพิ่มขึ้น      46.1%        ส่วนแบ่งตลาด  8.1%

ข่าวที่น่าสนใจอื่นๆเกี่ยวกับ โตโยต้า คลิกที่นี่

Youtube
Home

Please follow and like us:

Related Articles

Verified by MonsterInsights