Home News update “โครงการพระราม 4 โมเดล” แก้ปัญหาการจราจร

“โครงการพระราม 4 โมเดล” แก้ปัญหาการจราจร

by Gotz
699 views

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ ต่อยอดความร่วมมือขยายผลสู่ “โครงการพระราม 4 โมเดล” แก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน

นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ลัดกระทรวงคมนาคม นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง ตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดร.ศุภิชัย ตั้งใจตรง รองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์ นายชิน อาโอยาม่า ประธานคณะเลขาธิการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (Toyota Mobility Foundation) และนายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมแถลงข่าวโครงการพระราม 4 โมเดล เพื่อการแก้ไขการจราจรอย่างยั่งยืน

นายชิน อาโอยาม่า ประธานคณะเลขาธิการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้

นายชิน อาโอยาม่า ประธานคณะเลขาธิการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้

 

โครงการสาทรโมเดลริเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2557 โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ และบริษัท  โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรอย่างเป็นระบบบนถนนสาทรและบริเวณโดยรอบ ในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการจอดแล้วจร มาตรการรถรับส่ง มาตรการเหลื่อมเวลาทำงานและมาตรการบริหารจัดการจราจรเป็นต้น

 

ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่าการจราจรบนถนนสาทรมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น 12.6% โดยความเร็วในการเดินรถเพิ่มขึ้นจาก 8.8 เป็น 14.8 กม./ชม. และความยาวแถวลดลง 1 กิโลเมตรในชั่วโมงเร่งด่วน* ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของความร่วมมือที่ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนสนับสนุนร่วมกัน

 

ซึ่งในครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดและขยายผลจากแผนงานของโครงการสาทรโมเดล ภายใต้ชื่อ “โครงการพระราม 4 โมเดล” โดยมีจุดประสงค์ในการใช้ข้อมูลขั้นสูงเพื่อลดปัญหาการจราจรบนถนนพระราม 4 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจนครบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้  โดยมีระยะการดำเนินงานเป็นเวลา 18 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงต้นปี 2564

ทั้งนี้มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ได้ให้การสนับสนุนเงิน 50 ล้านบาท เพื่อการดำเนินโครงการโดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรโดยใช้ข้อมูลอันหลากหลาย อาทิเช่น ข้อมูล GPS จากรถของแกร็บ และรถขนส่งสาธารณะ ภาพจากกล้อง CCTV และเซ็นเซอร์ต่างๆ  ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และคาดการณ์สภาพจราจรล่วงหน้า อย่าง AI และ Machine Learning ผนวกกับองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญด้านการสัญจร (Mobility Expert) ทั้งจากภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา อาทิเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information Center : iTIC)  สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology) และ Siametrics

นอกจากนี้เรายังได้รับการสนับสนุนจากผู้มีความชำนาญด้านโมบิลิตี้อย่างแกร็บ (Grab) และเวย์แคร์ (WayCare) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เราสามารถเข้าใจเงื่อนไขและสภาพการจราจร ณ ปัจจุบัน มีความเข้าใจแนวโน้ม และรูปแบบการจราจรเพื่อคาดการณ์ปัญหาการจราจรในอนาคต หรือแม้กระทั่งเข้าใจรายละเอียดเชิงลึกเพื่อมาออกแบบระบบจราจร โครงข่ายการขนส่ง และการปรับปรุงผังเมืองให้เหมาะสม ท้ายที่สุดทางคณะทำงานของโครงการคาดหวังว่าการดำเนินการโครงการนี้จะเป็น “อีกหนึ่งก้าวสำคัญที่นำไปสู่การสัญจรสำหรับทุกคนในสังคม” (a big step towards Mobility for All)

 

เกี่ยวกับมูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้
มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ก่อตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2557 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาให้สังคมสามารถมีการสัญจรมากขึ้น โดยมูลนิธิมุ่งสนับสนุนระบบการสัญจร และลดความไม่เท่าเทียมกันในด้านการสัญจรของผู้คน โดยใช้ความเชี่ยวชาญของโตโยต้าทางด้านเทคโนโลยี ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานไม่ว่าจะเป็น สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร สถาบันวิจัย และองค์กรอื่นๆ เพื่อระบุปัญหาด้านการสัญจรทั่วโลก รวมถึงการแก้ปัญหาการเดินทางสาธารณะในเมือง การขยายการนำไปใช้การสัญจรส่วนบุคคล และการพัฒนาการสัญจรสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป

Please follow and like us:

Related Articles

Verified by MonsterInsights